วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบ Cloud คืออะไร? และ มันดีอย่างไร?

หลายต่อหลายคนอาจเห็นบทความและเรื่องราวเกี่ยวกับ Cloud มากมายในทุกวันนี้ แต่พอยิ่งอ่านไปก็ยิ่ง งง ว่าตกลงแล้ว Cloud มันคืออะไร และมันดียังงัยถึงมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน บทความสั้น ๆ นี้จะสรุปเกี่ยวกับระบบ Cloud และประโยชน์ต่าง ๆ ของ Cloud เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจน และสามารถเข้าใจได้ว่า ระบบ Cloud มันเป็นอย่างไร
Cloud คือการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล ซึ่งการแบ่งนี้แต่ละที่อาจจะแบ่งได้หลายชั้นหรืออาจจะไม่เหมือนกับที่ผมบอก เพราะการ Design ในแต่ละองค์กรไม่เหมือนกันเอาเป็นว่าการอธิบายแบบพื้น ๆ ของระบบ Cloud ก็แล้วกันครับ ข้อมูลที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ผมอ้างอิงจาก บริษัทที่ให้บริการเช่าเว็บและเซิร์ฟเวอร์เสมือน เรามาดูกันเลยครับ
1. ชั้นการประมวลผล (Computing layer) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หากมีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของผู้ใช้งานระบบ เพราะมันจะสวิทช์การทำงานไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที เว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือ ฯลฯ จะทำงานประมวลผลในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่ท่านใช้งาน และแยกทรัพยากรกับงานอื่น ๆ หรือระบบอื่น ๆ อย่างชัดเจน พร้อมมี Firewall ป้องกันระบบของท่านจากผู้ใช้อื่นด้วย
2. ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage network) ที่มีความเสถียร และความเร็วสูง โดยสามารถย้ายไปใช้งาน SAN (Storage network)สำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องเสียหายของอุปกรณ์หลัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ SAN (Storage network) อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้
เครือข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา
ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้
ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud แท้จริง โดยการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก และการแยกส่วนของการทำงานแบบเป็นระบบนี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือน ไม่ติดขัด
และมั่นใจได้ตลอดเวลา แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้น ๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน
ประโยชน์ของคลาวด์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ เพิ่มความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่าย เสริมความยืดหยุ่น มีความปลอดภัยและพร้อมนำไปใช้งาน แต่ซีอีโอและผู้นำทางธุรกิจอาจต้องการพิจารณาด้านอื่นๆ ของการประมวลผลด้วยคลาวด์ที่จำเป็นให้ครบถ้วน ก่อนจะถึงกระบวนการพัฒนา เช่น ประเด็นด้านความปลอดภัย และการอินทิเกรตบริการคลาวด์เข้ากับระบบไอทีเดิมที่มีอยู่ เป็นต้น
เมื่อความต้องการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์มีเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ต้องดูแลรักษาคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หลาย องค์กรมองหาโซลูชั่นส์ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดภาระเรื่องการดูแลรักษา ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์อันเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงขององค์กร ดังนั้น ระบบประมวลผลที่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของยุค ปัจจุบัน
Cloud Computing เป็น Business Model รูปแบบใหม่ของการให้บริการด้านไอที เพราะ ด้วยรูปแบบการประมวลผลที่อ้างอิงกับความต้องการของผู้ใช้และวิธีการจัดเก็บ ค่าบริการตามการใช้งาน ภายใต้การทำงานของซอฟต์แวร์ที่สามารถเพิ่มและลดทรัพยากรได้ตามความเหมาะสม ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน จะช่วยให้ท่านบริหารจัดการงานไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยประโยชน์ทางธุรกิจที่สำคัญของคลาวด์มีด้วยกันสองด้าน คือ ประโยชน์ด้านการเงิน และประโยชน์ด้านการตอบสนอง
ผลประโยชน์ด้านการเงิน
คลาวด์ก่อให้เกิดประโยชน์ครอบคลุมเกี่ยวกับงบการเงิน:
  • ลดค่าใช้จ่าย โดยค่าใช้จ่ายจะต่ำลงเมื่อใช้บริการคลาวด์ เปรียบเทียบกับการต้องสร้างและบำรุงรักษาระบบด้วยตนเอง
  • ลดต้นทุนโดยรวมในการเป็นเจ้าของ โดยลงทุนจริงเท่าที่ใช้งาน และยังได้ความรวดเร็วในความพร้อมใช้งานอีกด้วย
  • ลดงบลงทุนค่าใช้จ่ายของไอที โดยเปลี่ยนการลงทุนเป็นการจ่ายค่าดำเนินการแทน
  • ปรับปรุงค่าใช้จ่ายได้ตามการบริหารจัดการกระแสเงินสดของธุรกิจ โดยจ่ายเฉพาะบริการที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ได้
ประโยชน์ด้านการตอบสนอง
คลาวด์ช่วยให้องค์กรมั่นใจในการตอบสนองตามความต้องการทางธุรกิจ ด้วย:
  • ทรัพยากรสำหรับประมวลผลและระบบมีพร้อมใช้งานได้ทันทีตามความต้องการทางธุรกิจ
  • เข้าดึงคลาวด์ได้หลากหลายช่องทาง จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและแอพพลิเคชันจะพร้อมใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา
  • คล่องตัวมากขึ้นด้วยคลาวด์ จึงช่วยให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่าง รวดเร็วด้วยทรัพยากรด้านไอทีที่เหมาะสม
การลดค่าใช้ของระบบ Cloud
ก็คงมาดูพื้นฐานของการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ว่าถ้าเรามีบริษัท หรือทำงานในบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 5-6 คน ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่มีหลายร้อยคน
สิ่งหนึ่งที่ปัจจุบันเราต้องมีก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องทำงานร่วมกัน เช่น
1. มีการรับส่งไฟล์ ใช้ไฟล์ร่วมกัน เช่นข้อมูลยอดขาย ข้อมูล stock สินค้า ไฟล์ presentation ต่างๆ
2. มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่ ระบบ mail ระบบบัญชีการเงิน ระบบ crm
ก็จะเห็นว่าการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันภายในองค์กร จำเป็นต้องมีเครื่อง server และห้องคอมพิวเตอร์เก็บเครื่อง server โดยที่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ จะมี server จำนวนมาก มีการลงทุนในระบบ server และห้อง data center นี้หลายล้านบาท ถือเป็น fixed cost ในการลงทุน หรือเรียกว่า capex เวลาเราทำงบประมาณ – capital expenditure
นอกจากนี้ยังต้องมีค่าใช้จ่าย opex หรือ operation expenditure ก็คือค่าใช้จ่ายในการดูแล data center นี้ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าไฟฟ้า ทั้งในส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ และค่าแอร์
ดังนั้น แนวคิดของ cloud computing ส่วนหนึ่ง ก็จะเป็นการหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งแนวคิดเรื่องการลด Capex กับ Opexก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไร แนวคิดที่มีมานานหลายปีแล้วก็คือเรื่องของการ outsourcing หลักการโดยสรุปของ outsourcing มีอยู่ 2 ประเด็นใหญ่ๆ ก็คือ
การ แบ่งส่วนงานที่เราไม่เชี่ยวชาญ ไปให้มืออาชีพที่มีความรู้ด้านนี้มาทำแทนเรา แทนที่จะต้องเสียเงินไปจ้างพนักงานประจำเงินเดือนแพงๆ แต่ใช้งานได้ไม่คุ้มค่า เพราะเนื้องานที่ต้องทำมีไม่มากพอ
การลดการ ลงทุนเริ่มต้น ซึ่งในงานบางงานถ้าต้องทำเองเราอาจจะต้องมีการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงินจำนวน มาก เราก็ใช้วิธีเช่าบริการจากหน่วยงานที่ให้บริการเฉพาะด้าน แล้วจ่ายเป็นค่าบริการรายเดือนไป เช่นการทำห้องเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องลงทุนหลายล้านบาท ก็เปลี่ยนไปใช้บริการผู้ให้บริการ Data center ซึ่งเสียค่าเช่าต่อเดือนในระดับหมื่นบาท ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้มาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น