วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีแบ่งและรวมพาร์ติชันฮาร์ดดิสก์ใน Windows 8


สำหรับคุณๆ ที่ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ไม่ว่าจะเป็นแบบ Laptop หรือ PC ในช่วงนี้จะมี Windows 8 ติดมาซึ่งจะมีการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์มาเรียบร้อย แต่เรามีความต้องการการจะปรับเปลี่ยนขนาดพาร์ติชันในฮาร์ดดิสก์ตามที่เราต้องการ ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาโปรแกรมพวก Third party ที่ทำงานในลักษณะ Disk Management เพราะ Windows 8 ก็มีให้มาอยู่แล้ว
 
วันนี้มาดูวิธีที่จะขยายหรือลดขนาดของพาร์ติชัน รวมทั้งการแบ่งพื้นที่พาร์ติชันเพื่อทำเป็นไดร์ฟใหม่กัน
1.กดคีย์ Windows + R แล้วพิมพ์ diskmgmt.msc ในหน้าต่าง Run แล้วกด Enter
2.หน้าต่าง Computer Management จะเปิดขึ้นมาให้คลิกไปที่ Disk Management จะเห็นรายการดิสก์ไดร์ฟที่อยู่ในเครื่องของเรา ในตัวอย่างของผมมีไดร์ฟเดียวนะครับ คือไดร์ฟ C:
 
การลดขนาดและเอาพื้นที่มาทำไดร์ฟใหม่
3.ต่อไปนี้เราจะลดพื้นที่ไดร์ฟเพื่อเอาพื้นที่ที่เหลือทำไดร์ฟใหม่ ให้คลิกขวาที่ไดร์ฟที่จะลดขนาดเลือกคำสั่งShrink Volume
4.ระบบจะทำการตรวจสอบไดร์ฟที่จะทำการลดขนาด
5.เมื่อระบบทำการตรวจสอบเสร็จ จะถึงขั้นตอนที่จะลดพื้นที่ โดยจะแสดงรายละเอียดของไดร์ฟออกมาดังมีรายละเอียดตามนี้
  • Total Size before shrink in MB – จำนวนพื้นที่ของไดร์ฟทั้งหมด
  • Size of available shrink space in MB – จำนวนพื้นที่ว่างของไดรฟ์ ที่จะสามารถแบ่งได้
  • Enter the amount of space shrink in MB – ช่องว่างนี้จะเป็นที่ให้ใส่ขนาดพื้นที่ที่เราจะแบ่งเป็นพื้นที่ว่างที่จะทำเป็นไดร์ฟอีกไดร์ฟ
  • Total size after shrink in MB – จำนวนพื้นที่ที่เหลือหลังการแบ่งพื้นที่แล้ว
ให้เราเลือกพื้นที่ต้องการ แล้วคลิก Shrink
 
 6.ระบบจะทำการลดพื้นที่ไดร์ฟ เพื่อเหลือพื้นที่ว่างที่จะทำเป็นไดรฟ์ต่อไป เมื่อระบบทำงานเสร็จ จะเห็นว่ามีไดร์ฟเพิ่มขึ้นมาต่อท้ายไดร์ฟที่ทำการลดพื้นที่และเป็นพื้นที่แบบ Unallocated (พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน)
 
7.มาจัดการกับพื้นที่ว่างเพื่อทำไดร์ฟใหม่ ให้คลิกขวาพื้นที่ Unallocated นี้เลือกคำสั่ง New Simple Volume
 8.คลิก Next
 
9.ต่อมาให้ใส่พื้นที่ที่ต้องการทำไดร์ฟใหม่ ที่ Simple volume size in MB ซึ่งสามารถเลือกใส่จำนวนน้อยการจำนวนพื้นที่ที่เลือกทั้งหมดได้ เพื่อเลือกไว้ทำไดรฟ์อื่นได้อีก แต่สำหรับในที่นี่ใส่จำนวนพื้นที่ทั้งหมดเลย เสร็จแล้วคลิก Next
 
 10.เลือกชื่อไดร์ฟจะให้เป็น D, E, F..แล้วคลิก Next
11.ต่อมาจะมีตัวเลือกว่าจะฟอร์แมตเป็นระบบไฟล์อะไร ให้เลือก NTFS และใส่ชื่อของไดร์ฟที่ Volume label ตรงPerform a quick format ให้คลิกเครื่องหมายถูกเพื่อฟอร์แมตแบบเร็ว ถ้าไม่คลิกจะใช้เวลาฟอร์แมตนานมากๆ จากนั้นคลิก Next
 
 12.ปล่อยให้ระบบทำงานไปสักครู่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยจะปรากฎดังภาพ ก็คลิก Finish
 
13.เราก็จะได้ไดร์ฟมาใช้งานอีกหนึ่งไดร์ฟ เอาไว้เก็บข้อมูล

การขยายพื้นที่ไดร์ฟ
14.เปิดหน้าต่าง Computer Management และไปที่ Disk Management ในแบบเดียวกับ ข้อ 1 และ 2
 
 15.ในการรวมพื้นที่ไดร์ฟที่รวมกันจะต้องมีพาร์ติชันที่ต่อเนื่องกันอย่างในรูปภาพ ไดรฟ์ C กับไดรฟ์ E มีพาร์ติชันติดกันและต้องไม่ลืมนะครับ ไดร์ฟที่จะเอามารวมกับไดร์ฟหลักข้อมูลจะหายหมด  ถ้ามีข้อมูลสำคัญก็ให้ทำการแบ็กอัพไว้ก่อน  เมื่อจัดการด้านข้อมูลแล้ว ก็ให้คลิกขวาที่ไดร์ฟเลือกคำสั่ง Delete Volume
 
16.จะมีการหน้าต่างเตือนในเรื่องของข้อมูลในไดร์ฟที่จะลบแสดงออกมาให้คลิก Yes
17.เมื่อระบบลบพื้นที่ไดร์ฟเรียบร้อย พื้นที่ของไดร์ฟจะเป็น Unallocated
18.ต่อมาให้คลิกขวาที่ไดร์ฟหลักที่เราจะขยายพื้นที่ในที่นี้ได้แก่ไดรฟ์ C เลือกคำสั่ง Extend Volume
 
19.ต่อมาคลิก Next
 
20.ต่อมาจะมีรายละเอียดในการรวมพื้นที่ไดร์ฟ
  • Total volume size in megabytes (MB) – ขนาดของพื้นที่เมื่อรวมแล้ว
  • Maximum available space in MB – ขนาดพื้นที่ว่างที่จะนำมารวมได้
  • Select the amount of space in MB – ขนาดพื้นที่ที่เราต้องการเอาไปรวม
ในที่นี่ให้ใช้พื้นที่ว่างทั้งหมดเอาไปรวมไดร์ฟ ใส่ขนาดแล้วคลิก Next
 
 21.ปล่อยให้ระบบทำงานสักครู่ก็จะเสร็จเรียบร้อย คลิก Finish
 
22.กลับมาดูที่ไดรฟ์ C จะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น